มาสด้าเผยแผนพัฒนาเทคโนโลยีแห่งอนาคตเตรียมส่งผลิตภัณฑ์ใหม่ลงตลาด ตามวิสัยทัศน์ “Sustainable Zoom-Zoom 2030” เพื่อโลก สังคม และผู้คน

  • June 21, 2021

         มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ออกประกาศเกี่ยวกับแผนการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด พร้อมแถลงนโยบายด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามวิสัยทัศน์ระยะยาว “Sustainable Zoom-Zoom 2030” ล่าสุดได้ประกาศแผนการบริหารงานในระยะกลางรวมถึงนโยบายสำคัญเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 ตามที่เคยประกาศไว้เมื่อปีที่ผ่านมา โดยมาสด้าจะยังคงมุ่งมั่นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ภายในปี 2030 ตามแผนงาน 5 หัวข้อหลัก ดังนี้

  1. สั่งสมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีตามกลยุทธ์ Building Block Strategy เพื่อการผลิตที่มีประสิทธิภาพขั้นสูง
  • มาสด้าได้ปฏิบัติตามกลยุทธ์ Building Block Strategy อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งมอบเทคโนโลยีที่เป็นเลิศผ่านการสร้างรากฐานทางด้านเทคโนโลยีเสมือนดั่งเป็น “บล็อก”
  • เริ่มจากการพัฒนา “เทคโนโลยีสกายแอคทีฟ” เมื่อปี 2007 โดยพัฒนาปรับปรุงเครื่องยนต์สันดาปภายใน จากนั้นจึงเพิ่มเทคโนโลยีที่ใช้ระบบไฟฟ้าพื้นฐานเข้ามาใน Building-Block ชิ้นแรก ซึ่งสามารถนำมาใช้ในรถยนต์มาสด้าหลายรุ่น และแพลตฟอร์มนี้ได้กลายมาเป็นองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้พัฒนาขึ้นเป็นผลิตภัณฑ์ของมาสด้ามาตั้งแต่ปี 2012
  • มาสด้ากำลังเดินหน้าพัฒนาเครื่องยนต์สันดาปภายในให้ดียิ่งขึ้น (เครื่องยนต์ SKYACTIV-X และเครื่องยนต์ 6 สูบ แถวเรียง) และเทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแพลตฟอร์ม “SKYACTIV Multi-Solution Scalable Architecture” ซึ่งใช้ TPU (Transverse power units หรือการวางเครื่องตามแนวขวาง) ในรถยนต์ขนาดเล็ก และ LPU (Longitudinal power units หรือการวางเครื่องตามแนวยาว) ในรถยนต์ขนาดใหญ่ ซึ่งจากแพลตฟอร์มนี้ทำให้สามารถพัฒนารถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าได้หลากหลายรูปแบบมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน รวมถึงก้าวผ่านข้อกำหนดทางด้านกฎหมายสิ่งแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานด้านการผลิตไฟฟ้าในตลาด
  • นอกจากนั้น มาสด้าจะทำการเปิดตัวแนะนำแพลตฟอร์ม EV อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมาสด้า หรือแพลตฟอร์ม “SKYACTIV EV Scalable Architecture” ภายในปี 2025 สำหรับรถยนต์ EVs หลายขนาดและหลายรูปแบบตัวถัง
  • จากพื้นฐานกลยุทธ์เหล่านี้ มาสด้าจะทำการปรับปรุงกระบวนการในการพัฒนารถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูง ได้แก่ แนวทาง Common Architecture, Bundled Planning และ Model Based Development เพื่อที่จะเพิ่มองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี และเตรียมความพร้อมสำหรับยุครถยนต์ไฟฟ้าแบบเต็มรูปแบบโดยความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ
  1. การส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าและการแนะนำผลิตภัณฑ์ “กลยุทธ์ Multi-Solution”
  • ผลิตภัณฑ์ภายใต้แพลตฟอร์ม “SKYACTIV Multi-Solution Scalable Architecture” จะเปิดตัวแนะนำในตลาดหลัก อาทิ ญี่ปุ่น ยุโรป อเมริกา จีน และภูมิภาคอาเซียน ระหว่างปี 2022 – 2025 ซึ่งจะประกอบด้วยรถยนต์ Hybrid1 จำนวน 5 รุ่น, Plug-in hybrid จำนวน 5 รุ่น และรถยนต์ EV จำนวน 3 รุ่น
  • นอกจากนั้น มาสด้ายังเตรียมรถยนต์อีกหลายรุ่นที่ถูกพัฒนาภายใต้แพลตฟอร์ม “SKYACTIV Scalable EV Architecture” โดยจะเปิดตัวแนะนำสู่ตลาดในระหว่างปี 2025 – 2030
  • จากแผนการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ดังกล่าว มาสด้าคาดว่าใน 100% ของผลิตภัณฑ์ของมาสด้าจะเป็นรถยนต์ที่มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในระดับหนึ่ง โดยสัดส่วนของ EV จะอยู่ที่ประมาณ 25% ภายในปี 2030
  1. การส่งเสริมเทคโนโลยีความปลอดภัยที่มุ่งเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางเพื่อสร้างสังคมที่ไร้อุบัติเหตุ
  • ตามกลยุทธ์ Building Block Strategy ในเรื่องของเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยนั้น มาสด้ากำลังพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่ใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-Centric Autonomous Driving System) หรือ “Mazda Co-pilot Concept” สำหรับรถยนต์มาสด้ายุคใหม่
  • “Mazda Co-Pilot” จะตรวจจับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ตลอดเวลา และเมื่อตรวจสอบพบว่าสภาพร่างกายของผู้ขับขี่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างกะทันหัน ระบบจะเปลี่ยนไปใช้โหมดขับเคลื่อนอัตโนมัติเพื่อนำรถเข้าจอดในที่ปลอดภัย และทำการหยุดรถ รวมถึงกดหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ซึ่งในขณะนี้มาสด้าเรียกว่า Mazda Co-Pilot 1.0 ซึ่งกำลังจัดเตรียมแผนงานและจะเริ่มเปิดตัวแนะนำในรถยนต์ตัวถังขนาดใหญ่ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นไป
  1. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการบริการเชื่อมต่อและเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ เพื่อเป็นพื้นฐานของการให้บริการระบบขนส่งที่เชื่อมต่อทุกเส้นทางในอนาคต หรือ Next-Generation Mobility Services
  • มาสด้ามีแผนที่จะผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ขั้นพื้นฐาน ให้สามารถรองรับการให้บริการระบบขนส่งที่เชื่อมต่อทุกเส้นทางหรือ Mobility as a Service (Maas) และอัพเดทฟังก์ชั่นรถยนต์แบบ Over the Air (OTA)2
  • บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น จำนวน 5 ราย3 ซึ่งเป็นพันธมิตรกับมาสด้า จะร่วมมือกันพัฒนาอุปกรณ์ด้านการสื่อสารภายในรถยนต์เจเนอเรชั่นใหม่ เพื่อผลักดันระบบการสื่อสารที่ได้มาตรฐานให้สามารถส่งมอบการบริการที่ส่งมอบความปลอดภัยได้มากยิ่งขึ้นและปราศจากความเครียดได้เร็วยิ่งขึ้น
  • มาสด้าจะผลักดันการพัฒนาเจเนอเรชั่นถัดไปของรถไฟฟ้า Electric/Electronic Architecture (EEA) ที่สามารถประมวลผลข้อมูลจากภายในและภายนอกรถให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  1. ปรัชญาของการพัฒนาโดยเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-centered development philosophy) ในช่วงเวลาของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ และ CASE4
  • ตามวิสัยทัศน์ในระยะยาว Sustainable Zoom-Zoom 2030 ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ เพื่อโลก เพื่อสังคม และเพื่อผู้คน เราจะยังคงเดินหน้าตามปรัชญาการพัฒนาโดยเน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลาง (Human-centered development philosophy) ที่ให้คุณค่ากับมนุษย์และศักยภาพของผู้คน ไปจนถึงการนำไปสู่เป้าหมายในอนาคต นั่นคือ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ หรือ zero emission และ CASE จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของอุตสาหรรมยานยนต์
  • มาสด้ามุ่งมั่นที่จะสร้างสรรสังคมให้เกิดความยั่งยืน และเป็นสังคมที่มีความเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ด้วยการนำเสนอยานพาหนะที่สนับสนุนให้ผู้คนได้ตระหนักถึงศักยภาพของตนอย่างเต็มที่

        เพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ระยะยาวดังกล่าว มาสด้ามุ่งหวังเพื่อก้าวสู่การเป็นแบรนด์รถยนต์ที่สร้างความผูกพันกับลูกค้าในระยะยาว ด้วยการเติมเต็มความมีชีวิตชีวาของลูกค้าจากประสบการณ์ผ่านการเป็นเจ้าของรถยนต์ เพื่อส่งมอบความสุขความสนุกสนานในการขับขี่ซึ่งเป็นแก่นแท้ของรถยนต์

  1. ไม่รวมรถยนต์ประเภท Mid hybrid แต่รวมถึงรถยนต์ที่มาพร้อม Toyota Hybrid System (THS) ที่มาจากโตโยต้า
  2. การอัปเดทซอฟต์แวร์ผ่านการสื่อสารแบบไร้สาย
  3. มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, ซูซูกิ มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น, ซูบารุ คอร์ปอเรชั่น, ไดฮัทสุ มอเตอร์ และ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
  4. สัญลักษณ์ของตัวอักษรย่อที่สร้างขึ้นมาใหม่นี้ หมายถึง การเชื่อมต่อ การขับขี่อัตโนมัติ การใช้งานร่วม/บริการ และการใช้ระบบไฟฟ้า
  5.